Skip to content
Home » Data Redundancy แตกต่างกับการ Backup ข้อมูลอย่างไร?

Data Redundancy แตกต่างกับการ Backup ข้อมูลอย่างไร?

IT-Hero_How is Data Redundancy Different from Data Backup

ในยุคที่ข้อมูลถือเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญของธุรกิจและชีวิตประจำวัน การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลสำคัญทางธุรกิจจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ หนึ่งในวิธีการที่มักใช้ในการป้องกันข้อมูลสูญหายคือ Data Redundancy และการ Backup ข้อมูล ซึ่งทั้งสองเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญ แต่ก็มีความแตกต่างกันในวิธีการและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

ทำความรู้จักกับ Data Redundancy และ การ Backup ข้อมูลกันค่ะ

Data Redundancy

Data Redundancy คือการคัดลอกและสำรองข้อมูลไว้ในหลายที่ เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหายจากความเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูลต้นฉบับ เช่น เมื่อฮาร์ดดิสก์ที่เก็บข้อมูลหลักเสียหาย ข้อมูลที่ทำซ้ำไว้อีกที่หนึ่งยังคงสามารถเข้าถึงได้

การทำซ้ำข้อมูลจะช่วยให้ธุรกิจหรือผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะเกิดความเสียหายกับข้อมูลต้นฉบับ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น การโจมตีจากไวรัส หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ

การ Backup ข้อมูล

การ Backup ข้อมูล คือการสร้างสำเนาของข้อมูลในช่วงเวลาหนึ่ง และเก็บสำเนานั้นไว้ในแหล่งเก็บข้อมูลที่แยกจากข้อมูลต้นฉบับ เช่น การสำรองข้อมูลไปยังฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก หรือการเก็บไว้ในคลาวด์

Backup ข้อมูลช่วยให้คุณสามารถกู้คืนข้อมูลจากช่วงเวลาที่ได้ทำการสำรองไว้ หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ข้อมูลสูญหายหรือเสียหาย และการ Backup ยังสามารถกำหนดระยะเวลาสำรองข้อมูลได้ด้วย เช่น ทุกวันหรือทุกสัปดาห์ และสามารถเก็บหลายรุ่นของข้อมูลเพื่อให้สามารถย้อนกลับไปใช้งานข้อมูลในช่วงเวลาที่ต้องการได

ข้อแตกต่างหลักระหว่าง Data Redundancy และการ Backup ข้อมูล

วัตถุประสงค์

  • ในส่วนของ Data Redundancy จะเน้นการเก็บข้อมูลซ้ำในหลายที่เพื่อความปลอดภัยแบบเรียลไทม์
  • แต่การ Backup ข้อมูล เน้นการสำรองข้อมูลเพื่อกู้คืนในกรณีที่ข้อมูลสูญหายหรือเสียหาย

วิธีการเก็บข้อมูล

  • Data Redundancy เก็บข้อมูลไว้ในหลายเซิร์ฟเวอร์หรือหลายดิสก์พร้อมกัน เช่น RAID หรือระบบคลาวด์
  • Backup ข้อมูล เก็บสำเนาของข้อมูลในจุดสำรองที่แยกจากข้อมูลต้นฉบับ เช่น ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกหรือคลาวด์

การกู้คืนข้อมูล

  • สำหรับ Data Redundancy จะสามารถกู้คืนข้อมูลได้ทันทีจากข้อมูลที่สำรองไว้ในหลายที่
  • แต่การ Backup ข้อมูล จะต้องทำการกู้คืนจากสำเนาที่เก็บไว้ในช่วงเวลานั้น ซึ่งอาจไม่ใช่ข้อมูลล่าสุด

ธุรกิจจำเป็นต้องสำรองข้อมูลแบบใด?

ทั้ง Data Redundancy และ การ Backup ข้อมูล ล้วนมีบทบาทสำคัญในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล แต่จะเลือกใช้ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจและความต้องการด้านความปลอดภัยที่ต่างกัน

  • สำรองข้อมูลแบบ Data Redundancy เหมาะกับการปกป้องข้อมูลที่ต้องการความปลอดภัยสูงสุดและต้องการให้เข้าถึงได้ทันที เช่น ระบบเซิร์ฟเวอร์ที่ทำงานตลอดเวลา
  • แต่การ Backup ข้อมูล เหมาะกับการปกป้องข้อมูลที่ไม่ต้องการใช้งานในทันที แต่ต้องการสำรองข้อมูลเพื่อป้องกันการสูญหายจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

ข้อดีและข้อเสียของ Data Redundancy

ข้อดี

  • เพิ่มความพร้อมใช้งาน (High Availability) หากข้อมูลหลักเสีย ระบบยังสามารถเข้าถึงข้อมูลจากสำเนาอื่นได้ทันที
  • ลด Downtime (หรือช่วงเวลาที่ระบบทำงานไม่ได้) เหมาะกับระบบที่ต้องทำงานต่อเนื่อง เช่น ฐานข้อมูลของธุรกิจออนไลน์
  • รองรับการทำงานแบบอัตโนมัติ เช่น การใช้ RAID 1 (Mirroring) หรือ Database Replication ที่ช่วยให้ข้อมูลถูกคัดลอกแบบเรียลไทม์

ข้อเสีย

  • ไม่ป้องกันการลบหรือแก้ไขผิดพลาด ถ้าผู้ใช้ลบหรือแก้ไขข้อมูลผิด ข้อมูลที่ทำซ้ำก็ถูกเปลี่ยนแปลงไปด้วย
  • ไม่ป้องกันภัยคุกคามจาก Ransomware หรือไวรัส หากมัลแวร์เข้ารหัสข้อมูล ข้อมูลที่ทำซ้ำก็จะถูกเข้ารหัสไปด้วย
  • ใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าเป็นการทำสำเนาข้อมูลแบบเต็มรูปแบบ (Full Redundancy)

ข้อดีและข้อเสียของการ Backup ข้อมูล

ข้อดี

  • ป้องกันการสูญหายของข้อมูลจากข้อผิดพลาดของผู้ใช้ เช่น การลบไฟล์ผิด หรือการบันทึกข้อมูลทับกันโดยไม่ตั้งใจ เพราะสามารถย้อนกลับไปยังข้อมูลในช่วงเวลาก่อนเกิดข้อผิดพลาดได้
  • ป้องกันความเสียหายจากมัลแวร์หรือ Ransomware ในกรณีที่ข้อมูลต้นฉบับถูกเข้ารหัสหรือทำลาย การมีสำเนาข้อมูลที่แยกเก็บไว้จะช่วยให้สามารถกู้คืนข้อมูลได้โดยไม่ต้องยอมจ่ายค่าไถ่
  • รองรับการเก็บข้อมูลหลายเวอร์ชัน (Versioning) ช่วยให้สามารถเลือกกู้คืนข้อมูลในช่วงเวลาต่าง ๆ ได้ตามต้องการ เช่น กู้คืนไฟล์เวอร์ชันที่สร้างไว้เมื่อสัปดาห์ก่อน
  • สามารถกำหนดความถี่และวิธีการสำรองข้อมูลได้ตามความต้องการ เช่น สำรองข้อมูลรายวัน รายสัปดาห์ หรือแบบเรียลไทม์ (Real-time Backup)

ข้อเสีย

  • อาจใช้เวลานานในการกู้คืนข้อมูล โดยเฉพาะถ้าไฟล์มีขนาดใหญ่ หรือถ้าต้องกู้คืนระบบทั้งหมดจากศูนย์
  • ต้องมีการบริหารจัดการพื้นที่เก็บข้อมูล เพราะข้อมูลสำรองจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนครั้งที่มีการแบ็กอัป และต้องคอยตรวจสอบว่าพื้นที่จัดเก็บเพียงพอหรือไม่
  • มีความเสี่ยงหากไม่ได้เก็บข้อมูลสำรองแยกจากระบบหลักอย่างเหมาะสม เช่น เก็บไว้ในฮาร์ดไดรฟ์เดียวกัน หรือในเครือข่ายเดียวกัน หากระบบโดนโจมตีพร้อมกัน ก็อาจสูญเสียทั้งข้อมูลหลักและข้อมูลสำรอง
  • ต้องมีการดูแลและทดสอบการกู้คืนข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลสำรองสามารถใช้งานได้จริงเมื่อต้องการกู้คืน

อย่างไรก็ตาม เราอาจทำตามแนวทาง การ Backup ตามกฎ 3-2-1 Rule เพื่อให้ข้อมูลมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นก็ได้

การวางแผนที่ดีควรคำนึงถึงทั้งสองกลยุทธ์ร่วมกัน เช่น มีการทำ Redundancy สำหรับข้อมูลสำคัญที่ต้องพร้อมใช้งานเสมอ และมีการ Backup ข้อมูลไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว

หากธุรกิจของคุณยังไม่มีทีมไอที หรือยังไม่แน่ใจว่าจะวางแผนสำรองข้อมูลอย่างไรดี IT-Hero ยินดีให้คำปรึกษาและเราพร้อมที่จะให้การดูแลระบบไอทีของคุณอย่างครบวงจร รวมถึงวางแผนการสำรองข้อมูลที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และเหมาะกับลักษณะการทำงานของบริษัทของคุณ

#ithero #itsupport #itsolution #ไอทีฮีโร่ #ไอทีซัพพอร์ท #วางระบบไอที #แก้ไขปัญหาไอที  #อัพเดทไอที #อัพเดทซอฟต์แวร์ #บริการไอทีซัพพอร์ท #itservices

มีปัญหาไอที นึกถึง IT-Hero

เราคือผู้ให้บริการดูแลและแก้ไขปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ IT Support & MA ซึ่งเราคือตัวกลางที่จะช่วย SMEs แก้ไขปัญหาด้านไอทีแบบครบวงจร และช่วยปรับธุรกิจของคุณให้ก้าวทันโลกยุคดิจิทัลด้วยบริการด้านไอที

ครบ จบ ทุกโซลูชั่น

  • วิเคราะห์พร้อมออกแบบระบบให้เหมาะกับธุรกิจคุณ
  • ดูแลแก้ไขปัญหาและจำหน่ายทั้ง Hardware, Software
  • ออกแบบติดตั้งระบบสายนำสัญญาณเครือข่าย Network
  • ออกแบบ Website, Application
  • ระบบ Cloud Solution
  • ระบบ ERP Implement

ติดต่องานบริการทางด้านไอที ได้ที่
Email : [email protected]
Tel. :  088-809-0910 to 16
Line OA : 
 @ithero

#เปลี่ยนเรื่องไอทีปวดหัวให้เป็นเรื่องของเรา

ithero-itsolution-qr-code

ติดตามเราทาง Social Media ได้ที่:

#ithero #itsupport #itsolution #ดูแลระบบไอที#ไอทีฮีโร่ #ไอทีซัพพอร์ท #วางระบบไอที #แก้ไขปัญหาไอที  #อัพเดทไอที #อัพเดทซอฟต์แวร์ #บริการไอทีซัพพอร์ท #itservices #อัพเดทความปลอดภัย #ไมโครซอฟต์ #security policy #microsoft entra id #ความปลอดภัย