Skip to content
Home » การโจมตีแบบ DDoS คืออะไร? และทำไม SMEs ต้องระวัง

การโจมตีแบบ DDoS คืออะไร? และทำไม SMEs ต้องระวัง

IT-Hero_What is a DDoS attack And why should SMEs be concerned

ในโลกธุรกิจยุคดิจิทัลที่ทุกระบบต่างเชื่อมโยงกันผ่านอินเทอร์เน็ต ความต่อเนื่องในการให้บริการทางออนไลน์ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก การหยุดชะงักของระบบเพียงแค่ชั่วครู่ อาจหมายถึงโอกาสที่สูญเสียไปทั้งด้านรายได้ ความน่าเชื่อถือ และความพึงพอใจของลูกค้า หนึ่งในภัยเงียบที่สามารถทำให้ระบบล่มโดยไม่ต้องมีการแฮกข้อมูลหรือเจาะระบบใด ๆ คือการโจมตีแบบ DDoS (Distributed Denial of Service)

DDoS หรือ Distributed Denial of Service คืออะไร?

DDoS เป็นการโจมตีที่อาศัยการส่งคำขอเข้าไปยังเว็บไซต์หรือเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากในเวลาเดียวกัน โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่ถูกควบคุมจากระยะไกล หรือที่เรียกว่า “Botnet” จุดมุ่งหมายของการโจมตีนี้ไม่ใช่เพื่อการขโมยข้อมูล แต่เพื่อทำให้ระบบไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ โดยที่ผู้ใช้งานจริงจะไม่สามารถเข้าถึงเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้ เนื่องจากระบบต้องรับภาระหนักเกินกว่าที่จะรองรับได้

“Botnet” (มาจากคำว่า robot + network) หมายถึงกลุ่มอุปกรณ์ที่ถูกควบคุมจากระยะไกลและทำให้ติดมัลแวร์ ซึ่งอุปกรณ์สามารถเป็นอะไรก็ได้ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ เช่น คอมพิวเตอร์ เว็บแคม เราท์เตอร์ หรืออุปกรณ์ IOT อื่นๆ

**Zombies คือ Botnet หรือ กลุ่มอุปกรณ์ที่ถูกควบคุมจากระยะไกลและถูกทำให้ติดมัลแวร์

จุดประสงค์ของการโจมตีด้วย DDoS

ผู้ไม่หวังดีเลือกใช้การโจมตีแบบ DDoS ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและบริบทของการกระทำ โดยทั่วไปแล้ว จุดประสงค์ของการโจมตีมักเกี่ยวข้องกับผลกระทบทางธุรกิจหรือความมั่นคงปลอดภัย

ตัวอย่างของวัตถุประสงค์ที่พบบ่อย เช่น

  • ก่อกวนหรือทำลายความน่าเชื่อถือขององค์กร โดยเฉพาะช่วงที่มีแคมเปญสำคัญ เช่น การจัดโปรโมชั่น หรือกิจกรรมเปิดตัวสินค้า
  • เรียกค่าไถ่ โดยการข่มขู่ว่าจะไม่หยุดการโจมตี จนกว่าจะได้รับเงินตามที่เรียกร้อง
  • เบี่ยงเบนความสนใจของทีมไอที เพื่อให้ผู้โจมตีสามารถแอบดำเนินการอื่น ๆ ที่ร้ายแรงกว่า เช่น การเจาะระบบ
  • ทดสอบฝีมือหรือโชว์ศักยภาพ โดยเฉพาะจากกลุ่มแฮกเกอร์หรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการสร้างชื่อเสียง
  • โจมตีเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง เช่น เว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ

ผลกระทบที่ตามมา

แม้ว่า DDoS จะไม่ใช่การโจรกรรมข้อมูลโดยตรง แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นสามารถส่งผลรุนแรงต่อธุรกิจได้ในหลายด้าน เช่น การสูญเสียรายได้ในช่วงเวลาที่ระบบไม่สามารถให้บริการได้ ความเสียหายด้านชื่อเสียง การสูญเสียความเชื่อมั่นจากลูกค้า รวมถึงค่าใช้จ่ายในการกู้คืนระบบ ซึ่งอาจสูงกว่าความคาดหมายหลายเท่า

แนวทางการป้องกัน

บริษัทสามารถลดความเสี่ยงจากการโจมตีแบบ DDoS ได้ ด้วยการเตรียมความพร้อมทั้งด้านเทคนิคและการจัดการ ซึ่งแนวทางที่แนะนำมีดังนี้

วางโครงสร้างระบบเครือข่ายให้สามารถรองรับโหลดสูง 

โดยเฉพาะในช่วงที่คาดว่าจะมีผู้ใช้งานมาก ซึ่งสามารถทำได้โดยการคุยกับทีมพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อแจ้งเงื่อนไขในการวางและพัฒนาโครงสร้างเว็บว่าต้องการอะไรบ้าง เช่น

  • เว็บไซต์ต้องรองรับผู้ใช้งานจำนวนมากพร้อมกัน เช่น 1,000 users ในช่วงเวลาเดียว
  • เว็บต้องโหลดได้เร็ว ไม่ล่ม แม้ในช่วงพีค
  • ระบบสามารถขยายขนาดรองรับผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
  • ต้องมีระบบสำรองข้อมูล (Backup) และระบบความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ เช่น Firewall

กำหนดแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน 

ควรมีคู่มือหรือแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดการโจมตี เช่น

  • การบล็อก IP แปลกปลอมชั่วคราว เช่น หากพบว่ามีการเข้าถึงเว็บไซต์จาก IP แปลก ๆ จำนวนมากในเวลาเดียวกัน ระบบควรสามารถบล็อก IP เหล่านั้นชั่วคราวโดยอัตโนมัติ พร้อมแจ้งเตือนให้ทีมไอทีตรวจสอบ
  • การเปิดใช้งาน “โหมดป้องกัน DDoS” (DDoS Protection Mode) บนระบบ Cloud หรือบริการที่ใช้ เช่น Cloudflare หรือบริการของผู้ให้บริการ Hosting

หากท่านสนใจเกี่ยวกับโหมดป้องกัน DDoS ใน Cloudflare สามารถอ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่: DDoS Protection & Mitigation Solutions | Cloudflare

ติดตามและเฝ้าระวัง Traffic อย่างต่อเนื่อง

เพื่อให้สามารถตรวจจับพฤติกรรมผิดปกติได้ทันทีที่พบ เช่น

  • ดูปริมาณการใช้งาน (Bandwidth Usage) เพื่อตรวจสอบว่ามี Traffic เข้าเว็บไซต์หรือระบบมากผิดปกติไหม
  • วิเคราะห์แหล่งที่มาของ Traffic ตรวจสอบว่าผู้ใช้งานมาจากประเทศอะไร IP ไหน มีลักษณะการเข้าถึงที่ผิดปกติไหม เช่น จำนวน Request เยอะเกินไปในเวลาอันสั้น
  • ตั้งระบบแจ้งเตือนเมื่อมีความผิดปกติ เช่น เมื่อมีคนเข้าใช้งานพร้อมกันเกินค่าที่กำหนด หรือมีการส่งคำขอซ้ำ ๆ จากที่อยู่ IP เดียว

การโจมตีแบบ DDoS อาจดูเหมือนไม่รุนแรง เนื่องจากไม่มีการขโมยข้อมูลหรือรหัสผ่าน แต่ในความเป็นจริง ผลกระทบที่เกิดจากการไม่สามารถให้บริการได้ตามปกตินั้น อาจทำให้บริษัทสูญเสียทั้งรายได้ ความเชื่อมั่น และภาพลักษณ์อย่างมาก โดยเฉพาะหากเกิดในช่วงเวลาสำคัญ ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงควรให้ความสำคัญกับการป้องกันล่วงหน้า มากกว่าการรอให้เหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วค่อยแก้ไขในภายหลัง

หากคุณกำลังสงสัยว่าเว็บไซต์ของคุณมีการเข้าถึงที่ผิดปกติหรือกำลังถูกโจมตีอยู่ สามารถติดต่อเพื่อพูดคุยกับเราได้ที่ LineOA: @ithero ได้เลยครับ

#ithero #itsupport #itsolution #ไอทีฮีโร่ #ไอทีซัพพอร์ท #วางระบบไอที #แก้ไขปัญหาไอที  #อัพเดทไอที #อัพเดทซอฟต์แวร์ #บริการไอทีซัพพอร์ท #itservices

มีปัญหาไอที นึกถึง IT-Hero

เราคือผู้ให้บริการดูแลและแก้ไขปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ IT Support & MA ซึ่งเราคือตัวกลางที่จะช่วย SMEs แก้ไขปัญหาด้านไอทีแบบครบวงจร และช่วยปรับธุรกิจของคุณให้ก้าวทันโลกยุคดิจิทัลด้วยบริการด้านไอที

ครบ จบ ทุกโซลูชั่น

  • วิเคราะห์พร้อมออกแบบระบบให้เหมาะกับธุรกิจคุณ
  • ดูแลแก้ไขปัญหาและจำหน่ายทั้ง Hardware, Software
  • ออกแบบติดตั้งระบบสายนำสัญญาณเครือข่าย Network
  • ออกแบบ Website, Application
  • ระบบ Cloud Solution
  • ระบบ ERP Implement

ติดต่องานบริการทางด้านไอที ได้ที่
Email : [email protected]
Tel. :  088-809-0910 to 16
Line OA : 
 @ithero

#เปลี่ยนเรื่องไอทีปวดหัวให้เป็นเรื่องของเรา

ithero-itsolution-qr-code

ติดตามเราทาง Social Media ได้ที่:

#ithero #itsupport #itsolution #ดูแลระบบไอที#ไอทีฮีโร่ #ไอทีซัพพอร์ท #วางระบบไอที #แก้ไขปัญหาไอที  #อัพเดทไอที #อัพเดทซอฟต์แวร์ #บริการไอทีซัพพอร์ท #itservices #อัพเดทความปลอดภัย #ไมโครซอฟต์ #security policy #microsoft entra id #ความปลอดภัย