
ในยุคที่ธุรกิจต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น คำว่า IT Security และ Cybersecurity มักถูกใช้แทนกันไปมา แต่จริง ๆ แล้ว ทั้งสองคำนี้มีความหมายแตกต่างกันอยู่พอสมควร มาดูกันว่า แล้ว SME ควรให้ความสำคัญกับสิ่งไหนมากกว่ากัน
IT Security ปกป้องข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐาน IT ภายในองค์กร
IT Security หรือ Information Technology Security คือการปกป้องข้อมูล โครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์ IT ทั้งหมดในองค์กร รวมถึงการควบคุมการเข้าถึงข้อมูล และการป้องกันการโจรกรรมหรือการสูญหายของข้อมูลที่สำคัญ
ประเภทของ IT Security
- Internet Security
การรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่หวังดี หรือแฮกเกอร์สามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ การป้องกันประเภทนี้ช่วยปิดกั้นการโจมตีที่อาจทำให้ข้อมูลรั่วไหลหรือเกิดความเสียหายต่อระบบเครือข่าย
- Network Security
การรักษาความปลอดภัยจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต เช่น มัลแวร์ ฟิชชิ่ง และการโจมตีผ่านเว็บแอปพลิเคชัน การป้องกันประเภทนี้จะช่วยกรองและตรวจสอบข้อมูลที่รับส่งผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อป้องกันการเข้าถึงที่ไม่ปลอดภัย
- Application Security
การปกป้องแอปพลิเคชันจากช่องโหว่ต่างๆ โดยการใช้งานเครื่องมือที่ช่วยในการยืนยันตัวตนและประเมินความเสี่ยงของแอปพลิเคชัน
- Cloud Security
การเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลในระบบคลาวด์ เนื่องจากผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลจากที่ใดก็ได้ จึงต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่สามารถป้องกันการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาตและลดความเสี่ยงของข้อมูลรั่วไหล
- Endpoint Security
การรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ปลายทาง เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต เพื่อป้องกันไม่ให้มัลแวร์หรือภัยคุกคามอื่น ๆ เข้าถึงระบบผ่านอุปกรณ์เหล่านี้
ขอบเขตของ IT Security
- การจัดการสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล (Access Control)
- การสำรองข้อมูล (Backup & Recovery)
- การรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ในเครือข่าย (Endpoint Security)
- การควบคุมระบบเครือข่ายภายใน (Network Security)
ตัวอย่างมาตรการเพื่อป้องกันด้าน IT Security
- การใช้ระบบล็อกอินแบบหลายชั้น (Multi-Factor Authentication)
- การกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลตามระดับผู้ใช้
- การเข้ารหัสข้อมูลเพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต
Cybersecurity ปกป้องธุรกิจจากภัยคุกคามออนไลน์
Cybersecurity คือการรักษาความปลอดภัยจากภัยคุกคามที่เกิดขึ้นบนโลกไซเบอร์ ซึ่งรวมถึงการโจมตีจากแฮกเกอร์ มัลแวร์ ฟิชชิ่ง และภัยคุกคามอื่น ๆ ที่มาจากอินเทอร์เน็ต
ประเภทของ Cybersecurity
- Critical Infrastructure Security
การรักษาความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของบริษัท เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบชำระเงิน หรือฐานข้อมูลลูกค้า เพราะถ้าหากถูกโจมตี อาจทำให้ระบบล่มหรือข้อมูลสูญหาย จึงจำเป็นต้องมีมาตรการป้องกัน เช่น การสำรองข้อมูล และใช้ไฟร์วอลล์ป้องกันการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต
- Network Security
การป้องกันเครือข่ายจากการถูกโจมตี เช่น การแอบดักข้อมูลหรือมัลแวร์ สามารถทำได้โดยการใช้รหัสผ่านที่แข็งแรง อัปเดตระบบรักษาความปลอดภัยเป็นประจำ และใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส
- Cloud Security
การเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและลดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์ อย่างไรก็ตามข้อมูลที่จัดเก็บบนคลาวด์ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตี หากไม่มีการตั้งค่าความปลอดภัยที่เหมาะสม ควรใช้การยืนยันตัวตนแบบสองชั้น (2FA) ตั้งค่าการเข้าถึงข้อมูลให้เหมาะสม และเลือกใช้ผู้ให้บริการที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง
- Application Security
แอปพลิเคชันที่ใช้ในการทำงานหรือให้บริการลูกค้า อาจมีช่องโหว่ที่แฮกเกอร์ใช้โจมตีได้ ควรมีการตรวจสอบความปลอดภัยสม่ำเสมอ ใช้การเข้ารหัสข้อมูล และติดตั้งระบบป้องกันที่เหมาะสม
- Internet of Things (IoT) Security
การรักษาความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น กล้องวงจรปิด ต้องมีมาตรการป้องกันที่ดีเพื่อป้องกันการถูกโจมตี
ขอบเขตของ Cybersecurity
- การป้องกันภัยคุกคามจากภายนอก เช่น การโจมตีแบบ DDoS หรือ Ransomware
- การรักษาความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์ และบริการคลาวด์
ตัวอย่างมาตรการเพื่อป้องกันด้าน Cybersecurity
- การติดตั้งไฟร์วอลล์ (Firewall) และระบบป้องกันการบุกรุก (IDS/IPS)
- การให้ความรู้พนักงานเกี่ยวกับฟิชชิ่งและการโจมตีไซเบอร์
- การอัปเดตซอฟต์แวร์และแพตช์ความปลอดภัยเป็นประจำ
SMEs ควรโฟกัสที่อะไร?
สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (SMEs) ควรให้ความสำคัญทั้ง IT Security และ Cybersecurity เพราะปัจจุบันภัยคุกคามไม่ได้จำกัดแค่ภายในองค์กร แต่ยังรวมถึงการโจมตีจากโลกไซเบอร์ที่สามารถส่งผลกระทบต่อข้อมูลลูกค้าและความน่าเชื่อถือของธุรกิจ
แนวทางปฏิบัติสำหรับ SMEs
- เริ่มจากการป้องกันข้อมูลภายใน ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ทั้งหมดในบริษัทปลอดภัย และมีการสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
- ปกป้องระบบจากภัยทางไซเบอร์ ใช้ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย ติดตั้งไฟร์วอลล์ และฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์
- ลงทุนในโซลูชันที่เหมาะสม SMEs อาจไม่มีงบประมาณมากพอสำหรับระบบรักษาความปลอดภัยระดับองค์กร แต่สามารถเลือกใช้โซลูชันที่เหมาะสม เช่น บริการคลาวด์ที่มีการรักษาความปลอดภัยในตัว
ถึงแม้ว่า IT Security จะเน้นการป้องกันข้อมูลและอุปกรณ์ภายในองค์กร ส่วน Cybersecurity จะมุ่งเน้นไปที่ภัยคุกคามจากโลกไซเบอร์ แต่ทั้งสองส่วนนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป เพื่อให้ธุรกิจ SMEs ปลอดภัย ไม่ว่าจะภัยจากภายในองค์กรหรือจากภัยคุกคามภายนอก
#ithero #itsupport #itsolution #ไอทีฮีโร่ #ไอทีซัพพอร์ท #วางระบบไอที #แก้ไขปัญหาไอที #อัพเดทไอที #อัพเดทซอฟต์แวร์ #บริการไอทีซัพพอร์ท #itservices
มีปัญหาไอที นึกถึง IT-Hero
เราคือผู้ให้บริการดูแลและแก้ไขปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ IT Support & MA ซึ่งเราคือตัวกลางที่จะช่วย SMEs แก้ไขปัญหาด้านไอทีแบบครบวงจร และช่วยปรับธุรกิจของคุณให้ก้าวทันโลกยุคดิจิทัลด้วยบริการด้านไอที
ครบ จบ ทุกโซลูชั่น
- วิเคราะห์พร้อมออกแบบระบบให้เหมาะกับธุรกิจคุณ
- ดูแลแก้ไขปัญหาและจำหน่ายทั้ง Hardware, Software
- ออกแบบติดตั้งระบบสายนำสัญญาณเครือข่าย Network
- ออกแบบ Website, Application
- ระบบ Cloud Solution
- ระบบ ERP Implement
ติดต่องานบริการทางด้านไอที ได้ที่
Email : [email protected]
Tel. : 088-809-0910 to 16
Line OA : @ithero
#ithero #itsupport #itsolution #ดูแลระบบไอที#ไอทีฮีโร่ #ไอทีซัพพอร์ท #วางระบบไอที #แก้ไขปัญหาไอที #อัพเดทไอที #อัพเดทซอฟต์แวร์ #บริการไอทีซัพพอร์ท #itservices #อัพเดทความปลอดภัย #ไมโครซอฟต์ #security policy #microsoft entra id #ความปลอดภัย