
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทไหน ขนาดเท่าใด เซิร์ฟเวอร์ (Server) ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง เพราะถือเป็นหัวใจในการจัดเก็บข้อมูล จัดการข้อมูล การติดต่อสื่อสาร และการทำงานร่วมกันภายในองค์กร ถ้าเซิร์ฟเวอร์ไม่เสถียร มีพื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอ หรือทำงานขัดข้อง ก็อาจทำให้การทำงานภายในบริษัทเกิดปัญหา และหยุดชะงักกลางคันสร้างความเสียหายให้ธุรกิจ จะเห็นได้ว่าเซิร์ฟเวอร์มีส่วนสำคัญอย่างมาก ดังนั้น ถ้าธุรกิจใดยังไม่มีเซิร์ฟเวอร์ หรือมีอยู่แล้วแต่ไม่รู้จะเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับความต้องการของธุรกิจ วันนี้เราจะพามารู้จักเซิร์ฟเวอร์ให้มากยิ่งขึ้นกันครับ
Server คืออะไร?
เซิร์ฟเวอร์ (Server) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ในการให้บริการข้อมูลหรือทรัพยากรต่างๆ ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่เชื่อมต่อเข้ามาในเครือข่ายเรียกว่า “Client” ซึ่งเซิร์ฟเวอร์จะคอยรับคำขอจาก client แล้วตอบกลับข้อมูลที่ถูกร้องขอ เช่น เว็บไซต์ ฐานข้อมูล หรือการให้บริการไฟล์ต่างๆ รวมถึงเซิร์ฟเวอร์ยังมีหน้าที่เก็บข้อมูลและจัดการทรัพยากรต่างๆ ภายในองค์กร เช่น การแชร์ไฟล์ การใช้งานฐานข้อมูล และระบบอีเมลต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานของธุรกิจ
เซิร์ฟเวอร์มีบทบาทสำคัญในการสร้าง Productivity ทำให้การทำงานร่วมกันขององค์กรมีประสิทธิภาพ และช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน หรือ เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างระบบต่างๆ
ประเภทของ Server
เซิร์ฟเวอร์ที่รวบรวมมาในบทความนี้มีด้วยกัน 6 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะมีการใช้งานที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความต้องการและลักษณะของธุรกิจ
1. File Server
ใช้สำหรับการเก็บและแชร์ไฟล์ต่างๆ ให้กับผู้ใช้งานในองค์กร โดยให้การเข้าถึงไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่ายได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
2. Database Server
ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล เป็นที่เก็บข้อมูลสำคัญ เช่น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการขาย ข้อมูลสินค้า ฯลฯ เซิร์ฟเวอร์ประเภทนี้จะมีการจัดการข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และต้องการความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูง
3. Web Server
ทำหน้าที่ในการให้บริการเว็บไซต์ เมื่อมีการเข้าชมเว็บไซต์จากผู้ใช้งาน เซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อมูลและไฟล์ของเว็บไซต์ให้กับผู้ใช้งานผ่านเบราว์เซอร์ เช่น การเปิดหน้าเว็บไซต์ที่ใช้งานออนไลน์ เป็นต้น
4. Mail Server
ใช้ในการจัดการและส่ง-รับอีเมลภายในองค์กรและระหว่างองค์กร เซิร์ฟเวอร์ประเภทนี้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งและรับข้อความอีเมลต่างๆ ให้กับผู้ใช้งาน
5. Application Server
ทำหน้าที่ช่วยให้แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ โดยจะคอยประมวลผลคำขอจากผู้ใช้ เช่น เวลาที่คุณกดปุ่มอะไรบางอย่างบนหน้าเว็บไซต์หรือในแอปพลิเคชัน ข้อมูลจะถูกส่งมายัง Application Server เพื่อทำงานและส่งผลลัพธ์กลับไปหาคุณ
6. DNS Server
ใช้ในการแปลงชื่อโดเมนเป็นหมายเลข IP หรือแปลงที่อยู่เว็บไซต์ (URL) ให้เป็นที่อยู่ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อได้ เช่น เมื่อเราพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ลงในเบราว์เซอร์ คำขอจะถูกส่งไปยัง DNS Server เพื่อค้นหาหมายเลข IP ที่ตรงกับชื่อโดเมนนั้น หลังจากได้รับหมายเลข IP แล้ว คอมพิมเตอร์จะใช้หมายเลขนั้นเพื่อติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์และโหลดหน้าเว็บนั้นขึ้นมา
แนะนำขั้นตอนติดตั้งก่อนใช้งาน Server
การใช้งานเซิร์ฟเวอร์สามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับประเภทและความต้องการของธุรกิจเป็นหลัก
- ตั้งค่าและติดตั้งเซิร์ฟเวอร์
การตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์ต้องเริ่มจากการเลือกประเภทของเซิร์ฟเวอร์ที่เหมาะสม เช่น ถ้าคุณต้องการแชร์ไฟล์ ก็อาจเลือก File Server หรือถ้าต้องการจัดการฐานข้อมูลให้มีประสิทธิภาพก็จะใช้ Database Server หลังจากนั้นต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการที่รองรับเซิร์ฟเวอร์ เช่น Windows Server, Linux Server เป็นต้น
- จัดการทรัพยากรและความปลอดภัย
เซิร์ฟเวอร์จำเป็นต้องได้รับการตั้งค่าทรัพยากรที่ใช้ในการทำงาน เช่น หน่วยความจำ (RAM) ฮาร์ดดิสก์ รวมถึงการตั้งค่าความปลอดภัย เช่น การใช้ไฟร์วอลล์ การตั้งรหัสผ่านที่รัดกุม การเข้ารหัสข้อมูล หรือการสำรองข้อมูล (Backup) เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล
- เชื่อมต่อและการเข้าถึงจาก client
เมื่อเซิร์ฟเวอร์ถูกตั้งค่าแล้ว ผู้ใช้งาน (client) ในเครือข่ายสามารถเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ผ่านการใช้เครือข่ายภายในองค์กรหรือผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น ในกรณีของเว็บเซิร์ฟเวอร์ ผู้ใช้งานสามารถเข้าเว็บได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆ โดยการใช้ URL หรือโดเมนเนม
- บำรุงรักษาและอัปเดต
เซิร์ฟเวอร์ต้องได้รับการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ เช่น การอัปเดตซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการ หรือการตรวจสอบการทำงานของเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้มั่นใจว่าระบบจะยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
คำแนะนำสำหรับ SMEs
สำหรับธุรกิจ SMEs การเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่เหมาะสมจะช่วยให้การทำงานภายในองค์กรมีความราบรื่นขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บข้อมูล การแชร์ไฟล์ หรือการเข้าถึงแอปพลิเคชันต่างๆ อย่างไรก็ตามการเลือกเซิร์ฟเวอร์นั้น ไม่จำเป็นต้องซับซ้อนหรือต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงเสมอไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะของธุรกิจเป็นหลัก
ซึ่งถ้าหากธุรกิจของคุณต้องการเก็บข้อมูลและใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ การเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่รองรับได้หลายหน้าที่ เช่น Web Server และ File Server เป็นต้น การเลือกใช้บริการคลาวด์อาจจะเป็นอกีทางเลือกที่ดี ถ้าคุณไม่ต้องคอยดูแลตรวจสอบระบบเอง หรือ ไม่ต้องการเงินลงทุนสูงเกินไป
#ithero #itsupport #itsolution #ไอทีฮีโร่ #ไอทีซัพพอร์ท #วางระบบไอที #แก้ไขปัญหาไอที #อัพเดทไอที #อัพเดทซอฟต์แวร์ #บริการไอทีซัพพอร์ท #itservices
มีปัญหาไอที นึกถึง IT-Hero
เราคือผู้ให้บริการดูแลและแก้ไขปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ IT Support & MA ซึ่งเราคือตัวกลางที่จะช่วย SMEs แก้ไขปัญหาด้านไอทีแบบครบวงจร และช่วยปรับธุรกิจของคุณให้ก้าวทันโลกยุคดิจิทัลด้วยบริการด้านไอที
ครบ จบ ทุกโซลูชั่น
- วิเคราะห์พร้อมออกแบบระบบให้เหมาะกับธุรกิจคุณ
- ดูแลแก้ไขปัญหาและจำหน่ายทั้ง Hardware, Software
- ออกแบบติดตั้งระบบสายนำสัญญาณเครือข่าย Network
- ออกแบบ Website, Application
- ระบบ Cloud Solution
- ระบบ ERP Implement
ติดต่องานบริการทางด้านไอที ได้ที่
Email : [email protected]
Tel. : 088-809-0910 to 16
Line OA : @ithero
#ithero #itsupport #itsolution #ดูแลระบบไอที#ไอทีฮีโร่ #ไอทีซัพพอร์ท #วางระบบไอที #แก้ไขปัญหาไอที #อัพเดทไอที #อัพเดทซอฟต์แวร์ #บริการไอทีซัพพอร์ท #itservices #อัพเดทความปลอดภัย #ไมโครซอฟต์ #security policy #microsoft entra id #ความปลอดภัย