ทุกคนเป็นเหมือนกันไหมครับ? เวลาเจอรูปภาพถูกใจ อยากจะบันทึกเก็บไว้ แต่ก็มีหลายสกุลไฟล์ให้เลือกใช้เยอะซะเหลือเกินจนไม่รู้ว่าต้องเลือกบันทึกยังไงดี ซึ่งส่วนใหญ่เราก็จะเก็บเป็นไฟล์ .jpg หรือ .jpeg เพราะรู้จักแค่สกุลไฟล์นี้ หรือไม่ก็เวลาบันทึกรูปจากเว็บไซต์ก็จะเห็นสกุลไฟล์แปลกๆ ที่ไม่คุ้นเลย วันนี้ IT-Hero จะพามาแถลงข้อสงสัยเกี่ยวกับสกุลไฟล์รูปภาพกัน ไปดูกันเล้ยย
1. JPEG หรือ JPG
เป็นไฟล์ที่ผ่านการบีบอัดและลดรายละเอียดรูปภาพที่ไม่จำเป็นออกไป ทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กและเบาลง แถมยังคงคุณภาพของภาพไว้ได้อีกด้วย ทำให้ไฟล์นี้เป็นที่นิยมใช้สำหรับการออกแบบเว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ หรือทำพอร์ตรูปภาพสวยๆ ก็ยังได้
2. PNG
เป็นไฟล์ที่พบได้บ่อยมักใช้ในการออกแบบเว็บไซต์และ website project สามารถทำพื้นหลังภาพให้โปร่งใสได้โดยยังคงความคมชัดของรูปภาพบนเว็บไซต์ไว้เหมือนเดิม ซึ่งไฟล์ PNG จะต่างกับไฟล์ JPEG ตรงที่ไม่เหมาะกับการปริ้นท์ออกมาใช้งาน แต่เหมาะกับการใช้คู่กับรูปภาพที่มีตัวอักษรหรือโลโก้ และ export ไฟล์ออกมาเป็นรูป vector เพื่อใช้บนเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชันได้
3. GIF
เป็นไฟล์รูปภาพแบบบิตแมป (Bitmap คือ ภาพที่เกิดจากจุดพิกเซลเล็กๆ เรียงต่อกัน) มักจะเจอในรูปแบบแอนิเมชั่น ส่วนใหญ่จะอยู่ตามแถบแบนเนอร์โฆษณา หรือเว็บไซต์โซเชียลมีเดีย ไฟล์ GIF จะเหมาะกับการใช้งาน website project เพราะมีการแสดงผลได้รวดเร็วเมื่อมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ จึงเหมาะกับการใช้งานบนเว็บไซต์และแอพพลิเคชันเช่นเดียวกับไฟล์ PNG
4. TIFF
เป็นไฟล์รูปภาพแบบบิตแมปเช่นเดียวกับไฟล์ GIF แต่เป็นไฟล์รูปภาพที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก โดยไฟล์ TIFF จะยังคงคุณภาพของรูปต้นฉบับไว้เหมือนเดิมไม่ว่าจะมีการบันทึกรูปภาพไปหลายครั้งแล้วก็ตาม แต่ไฟล์ TIFF ก็ไม่เหมาะกับการใช้งานบนเว็บไซต์ เนื่องจากไฟล์ดังกล่าวจะกระทบต่อการแสดงผลของเว็บไซต์ ทำให้เว็บไซต์ช้าลง ดังนั้น ไฟล์ TIFF จึงควรใช้สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ที่ต้องการรูปคุณภาพสูง และการปริ้นท์รูปภาพ
5. PSD
ไฟล์ PSD เป็นอีกหนึ่งไฟล์พื้นฐานสำหรับซอฟต์แวร์กราฟิก เช่น Adobe Photoshop โดยไฟล์ PSD เป็นภาพที่มีหลาย layer ซึ่งง่ายต่อการปรับแก้ แต่อีกสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ไฟล์ดังกล่าวเป็นไฟล์บิตแมป จึงเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการกราฟิกคุณภาพสูง
6. PDF
เป็นไฟล์ที่ Adobe สร้างขึ้นมา โดยมีเป้าหมายคือให้สามารถแสดงผลครอบคลุมทุกสกุลไฟล์และแอพพลิเคชันต่างๆในโลกนี้ ทำให้เราสบายใจได้เวลาต้องการเปิดไฟล์สกุลใดก็แล้วแต่ ให้แสดงผลได้ง่ายและไม่ต้องพึ่งพาซอฟต์แวร์เฉพาะทางในการเปิด เพียงแค่เรามีซอฟต์แวร์ Acrobat Reader เท่านั้นเอง
7. EPS
เป็นสกุลไฟล์มาตรฐานสำหรับกราฟิก ซึ่งเป็นไฟล์ที่มีคุณภาพสูงและเหมาะสำหรับการปริ้นท์ โดยไฟล์ดังกล่าวสามารถใช้ได้กับทุกโปรแกรมออกแบบ ไม่เพียงแค่ซอฟต์แวร์ของ Adobe เท่านั้น โดยจุดนี้ทำให้ไฟล์ EPS มีการใช้งานที่ความครอบจักรวาลมากกว่าไฟล์ PDF ซะอีกคร้าบ
8. AI
สกุลไฟล์ AI เป็นที่รู้จักกันในชื่อเต็มคือ Adobe Illustrator มักใช้กันในแวดวงนักออกแบบ เพราะเป็นรูปแบบไฟล์ที่รองรับการใช้งานในทุกโปรเจ็ค เช่น เว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์ เป็นต้น
9. INDD
ชื่อเต็มคือ Adobe InDesign Document นักออกแบบมักใช้ในการสร้างสื่อสาธารณะขนาดใหญ่ เช่น แม็กกาซีน นิตยสาร หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยเราสามารถใช้ Photoshop กับไฟล์ Illustrator ร่วมกันใน INDD (InDesign) ได้ ซึ่งไฟล์ดังกล่าวสร้างคอนเทนต์ได้หลายรูปแบบมากกว่า
10. RAW
เป็นไฟล์ดั้งเดิม หรือไฟล์ดิบ (ที่ยังไม่สุก แฮร่) ที่ยังไม่ผ่านการปรับแก้ใดๆ เมื่อเราถ่ายรูปจากกล้อง กล้องจะบันทึกภาพเป็นไฟล์ RAW สามารถอัปโหลดได้หลายอุปกรณ์และหลายซอฟต์แวร์ ทั้งยังสามารถนำไฟล์ดังกล่าวมาแปลงเป็นไฟล์อื่นที่ต้องการได้ เช่น JPEG, PNG หรือ TIFF เป็นต้น
ที่มา: indeed.com
เป็นยังไงบ้างครับกับการแนะนำสกุลไฟล์จาก IT-Hero นี่แค่ EP. 1 เท่านั้น เรายังมีอีกหลาย EP. เลยนะครับ รอติดตามกันได้เล้ยย ถ้าใครคิดว่าได้ประโยชน์และสาระความรู้ดีๆ จากบทความนี้ อย่าลืมมาพูดคุยกันได้ใน เพจ IT-Hero นะครับ 🙂
#ithero #itsupport #itsolution #ไอทีฮีโร่ #ไอทีซัพพอร์ท #วางระบบไอที #แก้ไขปัญหาไอที #file #imagefile #image #jpeg #jpg #png #gif #tiff #psd #pdf #eps #ai #indd #raw #แปลงไฟล์
มีปัญหาไอที นึกถึง IT-Hero
เราคือผู้ให้บริการดูแลและแก้ไขปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ IT Support & MA ซึ่งเราคือตัวกลางที่จะช่วย SMEs แก้ไขปัญหาด้านไอทีแบบครบวงจร และช่วยปรับธุรกิจของคุณให้ก้าวทันโลกยุคดิจิทัลด้วยบริการด้านไอที
ครบ จบ ทุกโซลูชั่น
- วิเคราะห์พร้อมออกแบบระบบให้เหมาะกับธุรกิจคุณ
- ดูแลแก้ไขปัญหาและจำหน่ายทั้ง Hardware, Software
- ออกแบบติดตั้งระบบสายนำสัญญาณเครือข่าย Network
- ออกแบบ Website, Application
- ระบบ Cloud Solution
- ระบบ ERP Implement
ติดต่องานบริการทางด้านไอที ได้ที่
Email : [email protected]
Tel. : 088-809-0910 to 17